วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

อุปสงค์และดุลยภาพ

อุปสงค์ (Demand)               อุปสงค์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Demand หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่
โดยอุปสงค์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1. ความต้องการที่จะซื้อ หรือ Willing to buy
2. ความสามารถในการจ่ายเพื่อซื้อ หรือ ability to pay
              กฎของอุปสงค์คือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นหรือสูงขึ้น และอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าถูกลง”
              จากความสัมพันธ์ดังกล่าว   โดยปกติ   เส้นอุปสงค์ จึงมีลักษณะที่ลาดลงจากซ้ายไปขวา (Downward slope) และมีความชันของเส้นเป็นค่าลบ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการซื้อสินค้ากับราคาในทิศทางตรงกันข้าม แสดงเป็นตารางอุปสงค์ได้ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และราคาสินค้า


<> <>
ราคา (บาท/หน่วย)10090807060 5040
อุปสงค์/ความต้องการ 305070 98115 150 180




            จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน คือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการหรืออุปสงค์ก็ลดน้อยลง ซึ่งเมื่อนำมาแสดงในรูปของกราฟ จะเป็นดังรูปที่ 1 และเมื่อนำอุปสงค์ของแต่ละคนมารวมกัน ก็จะเป็นอุปสงค์ของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ
รูปที่ 1 เส้นอุปสงค์
 

ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์ได้แก่
1. ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการจะลดลง
2. รายได้ของผู้บริโภค กล่าวคือ ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ (Normal goods) เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากรายได้เพิ่มขึ้น แล้วผู้บริโภคซื้อสินค้านั้นลดลง แสดงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior goods) เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอันที่จริงอาจจะไม่ได้หมายถึง คุณภาพของสินค้าจริงๆ ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ดี แต่เป็นเรื่องของการรับรู้ของผู้บริโภคแต่ละคนที่อาจมีมุมมองแตกต่างกันไป เช่น ถ้ารวยขึ้นก็ไม่อยากกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาจหันไปกินอย่างอื่น เช่น ไก่ทอด แทน เป็นต้น
3. ราคาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
              • สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน    เช่น    กรณีเมื่อหมูราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคจะบริโภคหมูลดลง ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็อาจจะหันไปบริโภคไก่ หรือ ปลา หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ แทน
              • สินค้าที่ใช้ประกอบกัน    เช่น    กรณีที่ราคาน้ำมันแพงขึ้น ความต้องการซื้อรถยนต์ก็จะลดน้อยลงด้วย เป็นต้น
4. รสนิยมของผู้บริโภค เช่น หากรสนิยมในการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ความต้องการสินค้าที่เคยใช้อยู่เปลี่ยนแปลงไป
5. การคาดการณ์รายได้ในอนาคต เช่น หากผู้บริโภครู้ว่าจะได้มีการปรับขึ้นเงินเดือน ก็อาจจะบริโภคล่วงหน้าไปก่อน ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าสูงขึ้น
6. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ฤดูกาล จำนวนประชากร ฯลฯ


การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์              หากเกิดจากราคาของสินค้านั้นๆ  เอง (ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ข้อ 1.) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนเส้นอุปสงค์เส้นเดิม (Move along the demand curve) แต่หากเกิดปัจจัยอื่น โดยที่ราคาของสินค้านั้น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงจะเลื่อนเส้นอุปสงค์ไปทางซ้าย หรือทางขวาของเส้นเดิมทั้งเส้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามากระทบว่าจะส่งผลทางใด (Shift in demand curve) ดังแสดงในรูปที่ 2 เช่น หากรายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เพราะได้รับโบนัส แม้ราคาสินค้าจะไม่เปลี่ยนแปลงเช่นยัง 60 บาทเท่าเดิม แต่ผู้บริโภคก็สามารถซื้อได้เพิ่มขึ้นจาก 120 หน่วย เป็น 170 หน่วย (จากเส้น D1 เป็นเส้น D2 ในรูปที่ 2) เป็นต้น


รูปที่ 2 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์ แบบเลื่อนไปทั้งเส้น จากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา
 



           อุปทาน (Supply)
           อุปทานในวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Supply หมายถึง ความต้องการจะขายสินค้าหรือบริการของผู้ขาย ณ ระดับราคาต่าง ๆ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่
          โดยอุปทานจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
          1. ความต้องการที่จะขาย หรือ Willing to sell
          2. ความสามารถในการผลิต หรือ ability to produce
          กฎของอุปทานคือ “หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ อุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะลดลง เมื่อราคาสินค้าถูกลง และอุปทานหรือความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น”
          จากความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยปกติ เส้นอุปทาน จึงมีความชันของเส้นเป็นค่าบวก ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการขายสินค้ากับราคาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แสดงเป็นตารางอุปทานได้ดังนี้


ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคาสินค้า    

<> <>
ราคา (บาท/หน่วย)10090807060 5040
อุปสงค์/ความต้องการ 270240200170  14011070






จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางที่เดียวกัน กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ความต้องการจะขายหรืออุปทานก็มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเมื่อนำมาแสดงในรูปของกราฟ จะเป็นดังรูปที่ 3 โดยเมื่อนำอุปทานของผู้ขายแต่ละรายมารวมกัน ก็จะเป็นอุปทานของตลาด ณ ระดับราคาต่าง ๆ


รูปที่ 3 เส้นอุปทาน
 


ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอุปทานได้แก่1.    ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการขายก็มากขึ้นด้วย
2.    ราคาของปัจจัยการผลิตหรือต้นทุนการผลิต เช่น หากต้นทุนค่าขนส่งแพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่ราคาสินค้าที่นำไปวางขายไม่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ผู้ผลิตอยากขายสินค้าในปริมาณที่น้อยลง เพราะได้กำไรน้อยลง
3.    ราคาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีที่ราคาสินค้าอื่นแพงขึ้น อาจมีผลทำให้อุปทานของสินค้าชนิดที่ผลิตอยู่ลดลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมื่อราคาข้าวโพดแพงขึ้น คนที่เคยปลูกมันสำปะหลังอยู่ อาจหันไปปลูกข้าวโพดแทน และลดการปลูกมันสำปะหลังลง ซึ่งผลทำให้อุปทานของมันสำปะหลังสูงขึ้น ขณะที่อุปทานของข้าวโพดลดลง เป็นต้น
4.    เทคโนโลยีในการผลิตสินค้า เช่น หากมีการคิดค้นเทคโนโลยีในการผลิตให้ดีขึ้น ทำให้ผลิตได้ปริมาณสินค้ามากขึ้นด้วยต้นทุนเท่าเดิม จะทำให้ปริมาณการเสนอขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้
5.    การคาดการณ์ในอนาคต เช่น หากผู้ผลิตหรือผู้ขายคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ก็เสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
6.    ปัจจัยอื่น เช่น ฤดูกาล ภาษีและเงินอุดหนุน จำนวนผู้ขาย และโครงสร้างตลาดสินค้า ฯลฯ


             การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน             จะเกิดขึ้นในลักษณะคล้ายกันกับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ กล่าวคือ หากเกิดจากราคาของสินค้านั้นๆ  เอง (ปัจจัยกำหนดอุปทานข้อ 1.) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนเส้นอุปทานเส้นเดิม (Move along the supply curve) แต่หากเกิดปัจจัยอื่น โดยที่ราคาของสินค้านั้น ๆ คงที่ การเปลี่ยนแปลงจะเลื่อนเส้นอุปทานไปทางซ้าย หรือทางขวาของเส้นเดิมทั้งเส้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามากระทบว่าจะส่งผลทางใด (Shift in supply curve) ดังแสดงในรูปที่ 4 เช่น หากต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตสูงขึ้น ณ ระดับราคาขายสินค้าที่เท่าเดิม ผู้ขายจะเสนอขายสินค้าในปริมาณที่ลดลง เช่น ณ ระดับราคาสินค้า 60 บาทเท่าเดิม แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น จึงทำให้เส้นอุปทานเลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิมทั้งเส้น จาก S1 ไปยัง S2 แสดงถึงผู้ขายต้องการขายสินค้าน้อยลงจาก 140 หน่วย เหลือ 80 หน่วย เป็นต้น


รูปที่ 4 การเปลี่ยนแปลงเส้นอุปทาน แบบเลื่อนไปทั้งเส้น จากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา
 


            ดุลยภาพ (Equilibrium price and output)
               จากที่ได้กล่าวมาแล้วถึงความต้องการซื้อ และความต้องการขายสินค้า ณ ระดับราคาต่าง ๆ ของทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต ระดับดุลยภาพ ก็คือ ระดับราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายเห็นพ้องต้องกัน หรือระดับราคาที่อุปสงค์เท่ากับอุปทาน หรือเส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน


รูปที่ 5  แสดงเส้นอุปสงค์ อุปทาน และระดับดุลยภาพ 


                 จากรูปแสดงให้เห็นถึงระดับดุลยภาพที่ความต้องการซื้อและความต้องการขายเท่ากันพอดี (เส้น D ตัดกับเส้น S ณ จุด E) โดย ณ ราคาสินค้า 60 บาทต่อหน่วย ผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการสินค้าที่ 120 หน่วย
                ทั้งนี้ จุดที่ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess supply) และจะมีการปรับตัวเข้าสู่ราคาดุลยภาพ
                ส่วนจุดที่ราคาอยู่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess demand) และจะมีการปรับตัวสู่ราคาดุลยภาพ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น