วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เศรษศาสตร์


ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
                        ความหมายของเศรษฐศาสตร์
                                เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาหนึ่งสาขาหนึ่งในสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรมและเป็นที่พึงพอใจ
                                ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
                                เศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับพฤติกรรมของคนในสังคมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยการผลิต การกระจายผลิต และผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกชนิด โดยเฉพาะเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค และการซื้อ ขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
                                เศรษฐศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่ประชาชนทั่วไปถึงระดับประเทศ เศรษฐศาสตร์เข้าไปมีบทบาทในด้านการใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
                                แต่เนื่องจากทรัพยากรต่าง ๆ ในโลกมีจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัด จึงทำให้เกิดการขาดแคลนขึ้น ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงต้องตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกระบวนการตัดสินใจเลือกจึงนำความรู้เชิงเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยให้การตัดสินใจแต่ละครั้งให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                                นอกจากนั้นการที่คนแต่ละคนเข้าใจเศรษฐศาสตร์ สามารถเข้าใจเหตุการณ์และระเบียบ กฎเกณฑ์บางอย่างที่ตนเองต้องมีส่วนในการให้และรับผลร่วมกัน เช่น การเสียภาษีกับการได้ประโยชน์ตอบแทนจากการเสียภาษีไป เป็นต้น
                   1.2    หลักการและวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
                        เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่ ปัญหาว่าทำไม่จึงผลิต จะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ประเทศสามารถบริหารจัดการทรัพยากรให้สัมฤทธิผลและมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจคือ
                                1.  ความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และอื่น ๆ ทำการผลิตโดยได้รับผลผลิตสูงสุด
                                2.    การจ้างงานเต็มที่ หมายถึง การที่คนงานทุกคนที่สมัครใจทำงาน มีงานทำ และเป็นการทำงานเต็มความสามารถของแต่ละคน
                                3.     ความมีเสถียรภาพของระดับราคาสินค้าและบริการ หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย เพราะจะทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนและผู้ผลิตจะไม่สามารถคาดการณ์ภาวะทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
                                4.    ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ   หมายถึง   การที่ผลผลิตของประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น